• 095-957-2758
  • marketing@topslab.co.th
  • Bangrukphathana Bangbuathong Nonthaburi

ศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืน

ในปี 2564 ไทยติดอันดับ 19 ของการมีขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก คิดเป็นปริมาณ 3.53 ล้านตันต่อปี และมีขยะพลาสติกถูกปะปนเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมคิดเป็น 79% ของปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งทั่วโลก “โคเวสโตร ” ผู้นำด้านวัสดุโพลิเมอร์ระดับโลกที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์โลกให้สดใส เดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์ “อนาคตที่ยั่งยืน” อย่างต่อเนื่อง หวังช่วยอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกให้เกิดหลักการพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน Sustainable Development Goals (SCGs) จัดกิจกรรมเพื่อสังคมนำองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมปลูกฝังจิตสำนึกแก่เยาวชน พร้อมเปิดศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืน Learning Center เพื่อสร้างพื้นที่ Learn&Play ให้กับเด็กระดับปฐมศึกษาที่เป็นขุมสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนโลกใบนี้ให้เรียนรู้แนวคิดเรื่องทำเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านการแยกแยะขยะ 4 โซนแห่งการเรียนรู้จัดการขยะพลาสติก นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมในการนำองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมาเผยแพร่เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกแก่เยาวชนให้หันมาใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดทำสื่อการเรียนการสอน และ หนังสือชุดสำหรับเด็ก ภายใต้คอนเซปต์ “จุดประกายความคิดเพื่อชีวิตที่สดใส” หรือ Bright Minds for a Brighter World สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมพลาสติกเพื่อความยั่งยืน kids Lab อย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายต้องการมอบพื้นที่นอกห้องเรียนให้กับเด็กไทยในการเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการจัดการขยะพลาสติกอย่างถูกวิธีรวมถึงความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

ทส.เพิ่มป่าเศรษฐกิจอีก 15.87 ล้าน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การขับเคลื่อนไม้เศรษฐกิจ : เจตนารมณ์ทางการเมือง” ในการประชุมสมัชชาต้นไม้เพื่อแผ่นดินตามรอยพ่อ ครั้งที่ 2 “การขับเคลื่อนไม้เศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ไม้เศรษฐกิจมีความสำคัญ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การซื้อขายคาร์บอนเครดิต การจำหน่ายเนื้อไม้ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้ครัวเรือน ด้านสังคม ลดการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ และด้านสิ่งแวดล้อมที่ช่วยบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ โดยภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ได้กำหนดให้มีพื้นที่ป่าเศรษฐกิจร้อยละ 15 หรือ 48.52 ล้านไร่ ซึ่งต้องเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจอีก 15.87 ล้านไร่ ภายในปี 2580 ทส.จึงได้มีนโยบายที่สำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาทิ การจัดโครงการ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน สืบสานสู่ 100 ล้านต้น” การส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ตลอดจนที่ดินของรัฐที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ การแก้ไขหรือทบทวนระเบียบ กฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ การจัดทำระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างราชการและเอกชน แบบครบวงจร เป็นต้น

กำแพงกั้นคลื่น รัฐลุแก่อำนาจ เมิน EIA ซ้ำเติมปัญหากัดเซาะชายฝั่ง

การเร่งรัดก่อสร้าง “กำแพงกันคลื่น” เพื่อการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งของรัฐ ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติของระบบนิเวศชายฝั่ง เกิดข้อเรียกร้องจากภาคประชาสังคมโดยเฉพาะการทำกระบวน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA กลับมาใช้กับโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในพื้นที่ตลอดชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามันไทย